ความหมายของสหกิจศึกษา
สหกิจศึกษาคืออะไร
      ในสภาวะการณ์ปัจจุบันใน ตลาดแรงงานมีการแข่งขันและลักษณะของบัณฑิตที่ตลาดแรงงานมีความต้องการได้พัฒนาไป
ความต้องการของสถานประกอบการที่ต้องการให้มีในตัวบัณฑิต ได้แก่ การเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ในด้านการงาน ความคิดริเริ่ม
ระเบียบวินัย จริยธรรม ศีลธรรม การสื่อสารข้อมูล การเป็นผู้นำ เป็นต้น สิ่งที่ท้าทายสำหรับบัณฑิตในปัจจุบัน คือ การได้มี
โอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความจริงของการทำงานและ การเรียนรู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะของงานอาชีพและ
ทักษะด้าน พัฒนาตนเอง นอกเหนือไปจากทักษะด้านวิชาการ ทักษะเหล่านี้จะเรียนรู้และพัฒนาได้โดยเร็วเมื่อนักศึกษาได้มี
โอกาสไป ปฏิบัติงานจริง ในสถานประกอบการต่างๆ

หลักการและเหตุผล
      สหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นแผนการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ปฏิบัติงานจริง
ในสถานประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นให้นักศึกษาได้นำเอาวิชาการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติต่างๆ ที่ได้ศึกษา
มาแล้ว นำไปปฏิบัติในสถานประกอบการให้ได้ผลดี ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการไปปฏิบัติงาน และทำให้
นักศึกษามีคุณภาพตรงตามวัตถุประสงค์ที่สถานประกอบการต้องการมากที่ สุด เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือ
อันดีระหว่างมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กับสถานประกอบการที่นักศึกษาได้ไปปฏิบัติงาน อีกทั้งเป็นการเผยแพร่
เกียรติคุณ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการ ต่อบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่
ภายนอก

ปรัชญา "มหาวิทยาลัยชีวิต เริ่มต้นที่สหกิจศึกษา "

ภารกิจหลัก
      คัดเลือกนักศึกษาและจัดหาสถานประกอบการเพื่อให้นักศึกษาออกไปปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ

วัตถุประสงค์
      1. เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการ ทำงานจริงในสถานประกอบการ
      2. ศึกษาเรียนรู้เรื่องการจัดและบริหารงานในสถานประกอบการ อย่างละเอียด
      3. ได้พบเห็นปัญหาต่างๆ ที่แท้จริงของสถานประกอบการและ คิดค้นวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
      4. ศึกษาเกี่ยวกับบุคลากรส่วนต่างๆ ของผู้ร่วมปฏิบัติงานสถานประกอบการทั้งด้านบุคลิกภาพหน้าที่ความรับผิดชอบการทำงาน
ร่วมกันและการปฏิบัติงานเฉพาะทาง
      5. รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมในสถานประกอบการ การเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามที่เหมาะสม
      6. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัย กับ สถาน ประกอบการที่นักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
      7. เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพต่อบุคคลและ สถาบันต่างๆที่อยู่ภายนอก

หลักสูตรที่เข้าร่วมสหกิจศึกษา
      มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพได้จัดระบบการศึกษาเพื่อเป็น ระบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษา จะประกอบด้วย
2 ภาคการศึกษา (1 ภาคการศึกษามีระยะเวลา 17 สัปดาห์) และ 1 ภาคการศึกษาสหกิจศึกษามีระยะเวลาเท่ากับ 17 สัปดาห์

หลักสูตรสหกิจศึกษามีลักษณะดังนี้
      1. เป็นหลักสูตรบังคับสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์และหลักสูตรอื่นๆ ที่เข้าร่วมสหกิจศึกษา โดยที่สาขาวิชาต้นสังกัดของ นักศึกษาจะเป็นผู้รับผิดชอบ คัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าร่วมสหกิจศึกษา
      2. จัดภาคการศึกษาสหกิจศึกษาไว้ในภาคการศึกษาที่ 2 ของปีที่ 3 ( ภาคสมทบ) และภาคการศึกษาที่ 1 ของปีที่ 4 ( ภาคปกติ)
      3. ภาคการศึกษาสหกิจศึกษามีค่าเท่ากับ 6 หน่วยกิต การประเมินผลเป็น S และ U
      4. กำหนดให้นักศึกษาจะต้องไปปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา โดยจะต้องมีระยะเวลาการปฏิบัติงานตามที่กำหนด ทั้งนี้
ไม่ต่ำกว่า 17 สัปดาห์

หน่วยงานและบุคลากรที่รับผิดชอบ
      มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้จัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า สำนักงานสหกิจศึกษา (Office of Cooperative
Education : OCE) ภายใต้การกำกับของอธิการบดี เพื่อทำหน้าที่พัฒนารูปแบบระบบการศึกษาแบบสหกิจศึกษาให้เหมาะสม
และรับผิดชอบการประสานงาน ระหว่างนักศึกษา คณาจารย์และสถานประกอบการ ในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาสำหรับการ
ปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ

1. เจ้าหน้าที่สหกิจศึกษา (OCE Coordinator)
      บุคลากร ที่สังกัดสำนักงานสหกิจศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูล ประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่สถานประกอบการ
อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา และนักศึกษาสหกิจศึกษา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา ในฝ่ายต่างๆ
2. อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา (OCE Advisor)
      ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานด้านสหกิจศึกษาภายในสาขาวิชา ดังนี้
         • ชี้แจงสถานการณ์ที่นักศึกษาจะต้องประสบและเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นใน

สถานประกอบการ
         • นิเทศงาน อย่างน้อย 2 ครั้งต่อนักศึกษา 1 คน
         • ให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการเพื่อช่วยแก้ปัญหาในการทำงาน ผ่านการปฏิบัติงานของ

นักศึกษาสหกิจศึกษา
         • พบปะร่วมปรึกษากับพนักงานที่ปรึกษา และผู้บริหารสถานประกอบการที่นักศึกษาฝึกงานเพื่อรับฟังความคิดเห็น
           และข้อเสนอแนะต่างๆ
         • สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคณะผู้บริหาร และผู้ร่วมงานในสถานประกอบการที่ไปนิเทศนัก

ศึกษาสหกิจศึกษา
         • เข้าร่วมในการปฐมนิเทศ ปัจฉิมนิเทศ และกิจกรรมที่สำนักงานสหกิจศึกษาจัดขึ้น
         • พิจารณาผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เพื่อประเมินผลการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ของนักศึกษาสหกิจศึกษาตามวันและ
           เวลาที่กำหนด

ลักษณะงานสหกิจศึกษา ( ในส่วนของนักศึกษาที่ไปปฏิบัติการในสถานประกอบการ)
      1. เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว
      2. มีหน้าที่รับผิดชอบแน่นอน ( งานมีคุณภาพ)
      3. ทำงานเต็มเวลา (Full Time)
      4. ระยะเวลาการปฏิบัติงานเต็ม 1 ภาคการศึกษา ( ประมาณ 17 สัปดาห์)
คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
ผศ.ดร.ขจรศักดิ์ ศิริมัย
คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
สำหรับผู้ดูแลระบบ
การจัดการองค์ความรู้ งานสหกิจ
หน่วยงานภายใน